หนังสือน่าสนใจ


ภู กระดาษ. (2563). 24-7/1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. เลขหมู่ นว ถ359ย624
     เป็นการถ่ายทอดแนวคิดประวัติศาสตร์เศรษฐกิจจากสำนักต่าง ๆ ทั้งลัทธิมาร์ก (มาร์กซิสต์) เสรีนิยม สํานักออสเตรีย แนวชุมเพเทอร์ แนวเคนส์ ผ่านเรื่องเล่าของครอบครัวสมมติเล็ก ๆ ในหมู่บ้านหนึ่ง
ซึ่งต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติทุนนิยมและเผด็จการ พร้อมกับตั้งคำถามว่าหลังจากนี้โลกจะเป็นอย่างไร
เมื่อทุกคนเร่งทำงานทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่มีสวัสดิการใด ๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต
     นักเขียนใช้เทคนิคการเขียนจากการประกอบสร้างข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องเล่าท้องถิ่นของ
ครอบครัววงศ์คําดี ครอบครัวชนชั้นกลาง แบ่งฉากชีวิตออกเป็น 3 ยุคสมัย ฉายให้เห็นพัฒนาการวิถี
การผลิตที่เปลี่ยนแปลงจากยุคเสรีนิยมคลาสสิกและคอมมิวนิสต์ มาสู่ยุคเสรีนิยมใหม่พัฒนามาเป็นการ
ฟื้นตัวและการปะทะกันระหว่างเสรีนิยมกับเผด็จการ และคอมมิวนิสต์อีกครั้งในปัจจุบัน
     ในส่วนการเล่าเรื่อง นักเขียนใช้เทคนิคหลายมุมมองของเด็กรุ่นใหม่ที่ปะติดปะต่อเขียนประวัติครอบครัว
ที่พร่าเลือนร้อยเรียง สืบค้นเพื่อฉายภาพรากเหง้าของการกดขี่เริ่มต้นมาจากครอบครัว และลัทธิปิตาธิปไตย
สร้างฐานอำนาจด้วยเลือดและเซ็กซ์เปลี่ยนผ่านยุคสมัย กระนั้นความเหลื่อมล้ำยังทวีความรุนแรงมากขึ้น      นอกจากนี้นักเขียนยังคืนความเป็นท้องถิ่น เลือกใช้ภาษาดั้งเดิม เสียดเย้ยด้วยน้ำเสียงขันขื่นอันเป็น
รากเหง้าของชาวชนบทอีสาน อีกทั้งยังเลือกใช้ข้อมูล ตำนาน นิทาน และสัญลักษณ์ เพื่อขับเน้นเรื่อง
ให้ชวนติดตามและไตร่ตรองหาคำตอบจากการตีความของนักอ่านต่อไปด้วยความหวัง