ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของห้องสมุดจึงอนุมัติให้สร้างอาคารหอสมุดขึ้นเป็นเอกเทศ
การก่อสร้าง ห้องสมุดเริ่มเมื่อวันที่
23 ธันวาคม 2530 มีเนื้อที่ ใช้สอยทั้งสิ้นประมาณ 9,300 ตารางเมตร
แบ่งเป็นเนื้อที่สำหรับใช้สอยของหน่วยงานอื่นๆ บริเวณชั้นหนึ่ง ประมาณ 1,000 ตารางเมตร จึงเหลือเนื้อที่
สำหรับกิจการห้องสมุดประมาณ8,000 กว่าตารางเมตร สามารถบรรจุผู้อ่านได้ประมาณ 2,000 กว่าคน
และ
จุหนังสือได้ประมาณ4,000,000 เล่ม การก่อสร้างเสร็จเมื่อปลายเดือนกันยายน 2532 ราคาค่าก่อสร้าง
พร้อมอุปกรณ์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ
37 ล้านบาท ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและตรง กับความต้องการ
อาคารหอสมุดเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 โดยฯพณฯ นายทวิช กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น
ใน ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้ห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ โดยใช่ชื่อว่า "สำนักหอสมุด" และมหาวิทยาลัยรังสิตได้บรรจุผู้มีคุณวุฒิปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์เข้ามาเป็น ผู้อำนวยการ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2530 แต่เนื่องจากการบริการได้ขยายวงกว้างออกไปโดยมีการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานและเพื่อให้สอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติในลักษณะที่เพิ่มศักยภาพ ให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ใช้บริการ จึงได้ขอใช้ชื่อใหม่ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่า " สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University Library and Information Center" ต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ได้ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2538 ถึง พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้ให้ไปใช้เดิมคือ "สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต"(Rangsit University Library)