ประวัติความเป็นมาด้วยตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุด มหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้สร้างอาคารหอสมุดขึ้นเป็นเอกเทศการก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2530 มีพื้นที่เพื่อการใช้สอยทั้งสิ้นประมาณ 9,300 ตารางเมตร แบ่งเป็นเนื้อที่สำหรับใช้สอยของหน่วยงานอื่นๆ บริเวณชั้นหนึ่ง ประมาณ 1,000 ตารางเมตร เหลือเนื้อที่สำหรับ กิจการห้องสมุดประมาณ 8,000 กว่าตารางเมตร สามารถบรรจุผู้อ่านได้ประมาณ 2,000 กว่าคน จุหนังสือได้ ประมาณ 4,000,000 เล่ม การก่อสร้างเสร็จปลายเดือนกันยายน 2532 มีพิธีเปิดอาคารหอสมุดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 โดย ฯพณฯ นายทวิช กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น นับตั้งแต่วันเปิดอาคารจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบสามทศวรรษแล้วที่อาคารหอสมุดได้มีโอกาสต้อนรับและให้ บริการแก่ผู้ใช้นับแสนรายในฐานะที่เป็นแหล่งสารสนเทศของมหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดได้ทำหน้าที่จัดหาและ รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศให้ครอบคลุมการเรียนการสอนทุกหลักสูตรและสาขาวิชา มีปริมาณ คุณภาพ และ ประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล รวมทั้งยังทำหน้าที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นผลงานของบุคลากรและ หน่วยงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและขจัดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดเปิดให้บริการทุกวัน โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. สำหรับ วันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 09.00 – 19.00 น. รวมชั่วโมงเปิดให้บริการเฉลี่ยแล้ว 12.5 ชั่วโมง ต่อวัน โดยในปีการศึกษา 2556 มีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการต่างๆ รวมจำนวนทั้งสิ้น 178,290 ครั้ง ในจำนวนนี้มีทั้ง ผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สำนักหอสมุดจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องอาคารสถานที่ บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อรองรับผู้มาใช้บริการ การนำกิจกรรม 5ส มาใช้เป็นเครื่องมือและกระบวนการในการจัดการกับสภาพแวดล้อมทั้งในพื้นที่ให้บริการ และพื้นที่สำหรับการปฏิบัติงานก็เพื่อให้เกิดความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความสุขอนามัยที่ดี ทั้งสำหรับผู้มาใช้บริการและผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ กิจกรรม 5ส ยังเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการส่งเสริมและสนับสนุน ให้การดำเนินการประกันคุณภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ระบบงาน และ สภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นตามมาตรฐานการการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมและการสร้างชุมชนนักปฏิบัติตามแนวทางของกิจกรรม 5ส มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน และสอดคล้องกับบริบทของการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งยุทธศาสตร์ที่ 5 เรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ' ภายใต้โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ (RSU Health Campus) สำนักหอสมุดจึงกำหนดให้เพิ่มกิจกรรมอีก 2ส คือ สวยงาม และสิ่งแวดล้อม เข้าไปเป็นกิจกรรม 7ส สำนักหอสมุด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 นี้ และพร้อมที่จะพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ในอนาคต |
- คณะกรรมการ
อำนวยการ
กิจกรรม7ส - คณะอนุกรรมการ
กิจกรรม 7ส - โซนพื้นที่
- การตรวจเยี่ยม
โซนพื้นที่ - รางวัลโซนพื้นที่
- การจัดการความรู้
ดาวน์โหลดเอกสาร
- รายงานสรุปผล
การดำเนินงาน - มาตรฐานห้องสมุด
สีเขียว - เกณฑ์การพัฒนา
ห้องสมุดสีเขียว - มาตรฐานกลาง
- คู่มือ 1A3R
- เอกสารการบรรยาย
เรื่อง " การจัดการ
คาร์บอนฟุตพริ้นท์
ส่วนบุคคล"
- เอกสารการประชุม
เชิงวิชาการแนวทาง
การจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อพัฒนาสู่การเป็น
ห้องสมุดสีเขียว